หน้าแรก... ประวัติวัดแก้วเจริญ... กิจกรรมภายในวัด... ติดต่อเรา...


 
ประวัติความของเป็นมาวัดแก้วเจริญ
 
ประวัติหลวงปู่หยอด  ชินวํโส
 
หนังสือชีวิตและผลงานหลวงปู่หยอดฯ
 
เปิดบันทึกตำนาน " หลวงปู่หยอดฯ "
 
คติธรรม / คำสอน
 
ประวัติเจ้าอาวาส (พระครูสมุห์คำนวณฯ)  
 
ทัศนียภาพภายในวัด  
 
ภาพถ่ายวัดแก้วเจริญ สมัยเก่า
 
กิจกรรม / แจ้งข่าวของทางวัด 
 
ติดต่อเราและแผนที่ / Facebook
 
 

 
วัตถุมงคลเนื้อผงรุ่นแรก ปี 2497 
 
ภาพวัตถุมงคลของหลวงปู่หยอดฯ
 
วัตถุมงคลของ พระครูสมุห์คำนวณฯ
 พระผงปิดตาโภคทรัพย์รุ่นแรก  
 ล็อกเก็ตพระครูสมุห์คำนวณฯ  
 พระนาคปรกผงมหาระงับ พุทธาภินิหาร
 พระสมเด็จปรกโพธิ์รุ่นแรก เศรษฐีดวงดี
 พระขุนแผนรุ่นแรก " เจริญลาภ "
 มีดหมอรุ่นแรก " เทวฤทธิ์บรมครู "
 สีผึ้งมหามงคล " ฤกษ์จันทร์ซ้อนจันทร์ "
 ตะกรุดต่างๆ พระครูสมุห์คำนวณฯ
   - ตะกรุดมหาปราบพอกผงมหาระงับ
   - ตะกรุดพระพุทธเจ้าอมโลก
   - ตะกรุดโสฬสมหามงคล
   - ตะกรุดคู่ชีวิต / ตะกรุดมหารูด
   - ตะกรุดมหาระงับ 8 ทิศใหญ่
   - ตะกรุดลูกอมพิสมรมหาระงับ (ใบลาน)
 รวมวัตถุมงคลอื่นๆ  


 
 ภูมิปัญญาชาวบ้าน " หมอรักษาโรคฯ "
 
 คลองเสด็จประพาสต้น
 
 วัตถุโบราณเพื่อชนรุ่นหลังได้ศึกษา
 
 แหล่งเรียนรู้พิพิธภัณฑ์เรือโบราณ
 
 Link แนะนำ ...
 
 


   

             ประวัติการสร้างวัตถุมงคลเนื้อผงรุ่นแรก ปี พ.ศ.2497

             ในปี พ.ศ.2493 หลวงปู่หยอด ชินวํโส ได้จัดการก่อสร้างอาคารเรียนปริยัติธรรม เพื่อให้พระสงฆ์ในวัดแก้วเจริญ และวัดใกล้เคียงได้อาศัยทำการศึกษา พระธรรมวินัย การก่อสร้างในเวลานั้นก็ลำบากมาก ด้วยเรื่องการเงินทุนที่จะนำมาซื้ออุปกรณ์ก่อสร้าง เพราะเป็นช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองไม่นาน และ ชาวบ้านในเขตข้างวัดก็มีความยากจน เป็นส่วนใหญ่ การหาเงินมาทำการก่อสร้าง จึงไม่สะดวก ต่อมาถึงปี พ.ศ.2495 การก่อสร้างตึกเรียนปริยัติธรรมได้สำเร็จ ลงเรียบร้อยแล้ว หลวงปู่หยอดจึงคิดดำริขึ้นว่า เราจะทำการสร้างสิ่งถาวรวัตถุอะไรภายในวัดนั้น จะต้องอาศัยญาติโยมผู้มีศรัทธา เป็นกำลังอุปถัมภ์ในการ ก่อสร้างดังนั้น เมื่อญาติโยมได้นำปัจจัยมาถวายในการก่อสร้างแล้ว เราจะมีสิ่งอันใดได้ตอบแทนโยมบ้าง แล้วหลวงปู่หยอดฯ ก็คิดจะก่อสร้างอาคารเรียนถาวร ของเยาวชนในท้องถิ่นข้างวัดแก้วเจริญอีกด้วย และบัดนี้ตัวเราได้อุปสมบทมานาน จนได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสของวัดแก้วเจริญ ย่อมจะต้องมีบรรดาลูกศิษย์ ลูกหาเป็นอันมากต่อปีๆ หนึ่ง เพราะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระกรรมวาจาจารย์แล้ว บรรดาญาติโยมที่จะทำการบวชบุตรชายที่มีศรัทธาต่อเรา จะต้องมาส่ง นิสสัยแก่เรา ซึ่งเป็นธรรมเนียมของพระภิกษุ เราจะมีสิ่งใดไว้แจกแก่พระภิกษุซึ่งเป็นศิษย์ของเราเล่า จึงมีความคิดจะทำการสร้างพระเครื่องเป็นที่ระลึกและเป็น พุทธานุสสติ เมื่อการสร้างพระจะต้องใช้อุปกรณ์ในการสร้าง เช่น ผงที่จะทำองค์พระและตัวแม่พิพม์ เมื่อคิดอย่างนี้แล้วก็ ระลึกถึงพระเดชพระคุณ ท่านเจ้าคุณ พระราชมงคลวุฒาจารย์ (ใจ) ซึ่งเป็นพระอุปัชฌายาจารย์ของเรา จึงไปหานมัสการท่าน เพื่อปรึกษาหารือในเรื่องการสร้างพระ เพื่อเป็นที่ระลึกนี้ เพราะ พระเดช พระคุณอาจารย์เป็นผู้ชำนาญการในเรื่องนี้ ท่านก็เมตตาให้การปรึกษาในการสร้าง โดยให้จัดหาผง และอุปกรณ์แม่พิมพ์ให้พร้อม แล้วนำมาให้ท่าน ท่านจะทำ การปลุกเสกผงที่จะลงแม่พิมพ์ทำองค์พระนั้น และยังมอบผงของขลังของท่านมาให้เป็นชนวนอีกด้วย
             
เมื่อหลวงปู่หยอดฯ ได้รับมอบผงมงคลบางส่วน จากพระเดชพระคุณหลวงปู่ใจ วัดเสด็จมาแล้ว และในช่วงนี้มีพระภิกษุรูปหนึ่งชื่อพระอาจารย์เยี่ยม ได้มาพำนักอยู่ในอาวาสวัดแก้วเจริญนี้ และได้เคยอยู่ในสำนักของวัดระฆังโฆสิตารามมาก่อน ได้ไปขอผงมงคล อันเป็นผงที่พระเดชพระคุณท่านเจ้าพระคุณ พุฒาจารย์ (โต พรหมรังษี) ได้ทำเอาไว้ มาถวายหลวงปู่หยอดฯ 1 ขวดหูใหญ่ และพระอาจารย์เยี่ยมนี้ยังมีความชำนาญในการแกะแม่พิมพ์ที่จะทำการพิมพ์พระ ขึ้นมา คือแกะด้วยหินลับมีดโกนบาง ทำด้วยยางปั๊มฟันของช่างทำฟันบ้าง บางพิมพ์ก็ถอดแบบด้วยตะกั่วบ้าง เพราะท่านมีความสันทัดมาก เมื่อได้แม่พิมพ์ เรียบร้อยแล้ว หลวงปู่หยอดฯ จึงมาคิดดำริว่า เราะจะต้องหาผงที่จะผสมทำเป็นองค์พระนี้ให้มาก และเป็นผงที่วิเศษจริง ๆ จึงสั่งให้คุณเกษม ดำรงค์บุญ ซึ่งเป็น คนคุ้นเคยกัน และนับถือกันดีกับหลวงปู่หยอดฯ และคุณเกษม ดำรงค์บุญนี้ ก็เป็นคนกว้างขวางในวงการสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประเทศ คุณเกษมฯ ก็รับ ปากจะไปขอร้องให้บรรดาพวกที่ใกล้ชิดกัน ช่วยไปขอผงจากสำนักเกจิอาจารย์ดังๆ ในสมัยนั้นมาถวายหลวงปู่หยอดฯ ได้สมตามความปรารถนา และส่วน พระเครื่องพิมพ์เนื้อดินนั้น ก็ได้กำลังจากพระมหาบุญ ซึ่งพำนักอยู่ในวัดแก้วเจริญนี้ ได้คุ้นเคยกับพระผู้ใหญ่และเพื่อนสหธรรมมิตรในสำนักอื่น พอรู้ว่า หลวงพ่อพระครูสุนทรธรรมกิจ(หยอด) จะทำพระเครื่องเพื่อเอาไว้แจกศิษยานุศิษย์และท่านผู้มีศรัทธาทั้งหลาย จึงสั่งบรรดาพระผู้ใหญ่ และสหธรรมมิตร ที่จะไปประเทศ อินเดียว่าถ้าไปประเทศอินเดียแล้ว ช่วยนำดิน ณ สถานที่สำคัญๆ เช่น สถานที่ประสูติ ที่ตรัสรู้ ที่แสดงธรรมเทศนา และที่พระพุทธเจ้า ปรินิพพานกลับมาสู่ประเทศไทย เพื่อนำมาถวายหลวงพ่อพระครูสุนทรธรรมกิจ(หยอด) เอามาพอประมาณไม่ต้องมากก็ได้มาตามที่สั่งไปสมปรารถนา แล้วหลวงปู่หยอดฯ ก็ยังสั่งบรรดา ศิษยานุศิษย์ที่ไปอยู่ต่างแดนให้ช่วยนำดินในสถานที่เหล่านี้ เช่น จังหวัดพิษณุโลก ข้างวัดนางพญา จังหวัดกำแพงเพชร ดินทุ่งเศรษฐี จังหวัดอยุธยา ข้างวัด พระศรีสรรเพชรวังโบราณ และจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นต้น และพระอาจารย์เยี่ยมยังได้นำเอาหนังสือใบลานที่จารด้วย อักษรขอม มาเผาไฟทำเป็นผงผสมกับ ผงขาวบ้าง เช่นพระเครื่องที่มีสีดำทุกพิมพ์นั้นแหละ
             
เมื่อหลวงปู่หยอดได้ผงมงคลที่จะพิมพ์พระพอแก่ความต้องการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พร้อมทั้งแม่พิมพ์จำนวนหลายพิมพ์แล้ว จึงนำผงมงคลบางส่วน ใส่ภาชนะเดินทางไปให้บรรดาอาจารย์ที่มีชื่อดัง ๆ อยู่ในสมัยนั้น เช่น พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระราชมงคลวุฒาจารย์ (หลวงปู่ใจ) วัดเสด็จ จังหวัด สมุทรสงคราม , หลวงพ่อพระเดชพระคุณพระเทพมงคลมุนี (สด) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพฯ , หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม , หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามงาม จังหวัดนครปฐม ได้ทำการปลุกเสกให้ก่อนที่จะทำการพิมพ์พระเป็นองค์สำเร็จรูปออกมา การนำผงมงคลไปให้บรรดาอาจาร์ขมังเวทย์ ได้ปลุกเสก ก่อนนั้น ในสมัยนั้นการเดินทางก็ไม่สะดวกเหมือนปัจจุบันนี้ แต่หลวงปู่หยอดฯ ก็ยังอุสาหะเดินทางไปจนได้ และต้องไปค้างคืนค้างวัน ณ สถานที่นั้น ๆ เพื่อจะ ได้ศึกษาหาความรู้ในวิชาเวทย์จากบรรดาอาจารย์ดังกล่าวนั้นด้วย
             
เมื่อทุกอย่างเป็นที่เรียบร้อย พร้อมที่จะพิมพ์เป็นองค์พระได้แล้วหลวงปู่หยอดฯ จึงหาฤกษ์ยามที่จะลงมือกระทำการพิมพ์ ในเรื่องหาฤกษ์ยามนี้ หลวงปู่ จะถือเป็นหลักสำคัญมาก แม้แต่จะกระทำสิ่งใดที่เป็นก่อสร้างถาวรวัตถุภายในวัด เพียงแต่ทำการย้ายศาลาน้ำหลังเล็ก ๆ ไปปลูกใหม่ยังต้องดูฤกษ์ เช่นกัน เรื่องนี้ประสบมากับผู้เขียนเองเพราะผู้เขียนเป็นผู้ทำการรื้อย้ายจากที่เดิม หลวงปู่ท่านถือว่าสำคัญมาก เมื่อทำแล้วจะมีความสำเร็จ และอยู่เย็นเป็นสุขดี แก่ผู้อาศัย จึงถือ ปฏิบัติเป็นกิจวัตรตลอดมาจนปัจจุบัน
             
เมื่อได้ฤกษ์ยามตามที่ต้องการแล้ว หลวงปู่จึงผสมผงมงคลวิเศษนั้นเข้าด้วยกันทั้งหมด คลุกเคล้าให้เข้ากันดีแต่ละอย่าง เช่น สีขาวก็ส่วนขาว สีดำ ก็ส่วนดำ ส่วนดินก็นำลงแช่รวมกันในตุ่มมังกร เมื่อจะใช้ก็นำขึ้นมานวดให้เหนียวแล้วผสมผงมงคลลงไปด้วย พอถึงวันกำหนดหมายก็นำอุปกรณ์ทุกอย่างนั้น ลงสู่อุโบสถเพื่อประกอบพิธีทำการตักผงให้ละเอียด ด้วยสัดส่วนที่เหมาะสม เมื่อตำได้ที่ดีแล้วจึงนำขึ้นมากดพิมพ์ บรรดาพระภิกษุสามเณร และศิษย์วัดที่ว่าง ๆ อยู่ก็ช่วยกันตำผงและกดพิมพ์ ส่วนตัวหลวงปู่ท่านก็กดพิมพ์ด้วยเหมือนกัน
             
ในการทำพระเครื่องเป็นของแจกเป็นที่ระลึกในคราวครั้งนี้ ซึ่งมีปรากฎด้วยกันหลายแม่พิมพ์ ซึ่งผู้เขียนเก็บรวบรวมได้อยู่แล้วในปัจจุบันประมาณ 30 กว่าพิมพ์ และแต่ละพิมพ์ยังแยกออกเป็นพิมพ์ใหญ่ กลาง เล็ก อีกด้วย

             ส่วนเนื้อขององค์พระนั้นมี 3 เนื้อด้วยกันคือ
             1. เนื้อผงสีขาว ซึ่งเหมือนกับที่ทำการสร้างกันทั่ว ๆ ไป
             2. เนื้อผงสีดำ ซึ่งผสมผงหนังสือใบลานที่มีอักขระภาษาขอมเผาไฟ พร้อมด้วยผงสีขาวเล้วคลุกรักที่ปิดทองพระด้วย
             3. เนื้อดินเผา ซึ่งใช้ดินจากสถานสำคัญดังที่กล่าวมาแล้ว (เนื้อดินนี้จะมีอยู่ประมาณสัก 3 - 4 พิมพ์เท่านั้น)
             ส่วนพระแต่ละพิมพ์นั้น จะแยกชื่อพิมพ์ให้ทราบรายละเอียด และภาพพระประกอบแต่ละประเภทในภายหลัง พระชุดนี้ได้ทำการพิมพ์ครั้งแรก ตั้งแต่ พ.ศ.2496 เพราะผู้เขียนพบหลักฐานเป็นที่เชื่อถือได้อยู่ที่ใต้ฐานขององค์พระ พิมพ์ซุ้มนครโกษาสีดำองค์หนึ่ง มีเลขภาษาไทยซึ่งเป็นลายมือของหลวงปู่หยอด ได้เขียนไว้ว่า ๙๖ จึงถือว่าแน่นอนตามนั้น
             พระเครื่องทำแจกครั้งนี้ แต่ละพิมพ์จะมีจำนวนเท่าใด ไม่เป็นที่ปรากฎแน่นอน เพราะว่าทำการพิมพ์ไป เห็นว่าพอประมาณแล้วก็ให้หยุดพิมพ์ หรือ บางพิมพ์เห็นจะเปลืองเนื้อผงมาก ก็สั่งให้งดพิมพ์ไป จึงไม่รู้จำนวนที่แน่นอน ตั้งแต่ลงมือทำการพิมพ์เรื่อยมา เห็นว่าพอสมควรแล้วจึงหยุดพักทำ เห็นว่ามี จำนวนมากก็พอแล้ว
             พอถึงปี พ.ศ.2500 ซึ่งเป็นปีที่พระพุทธศาสนาเวียนมาบรรจบครบยี่สิบห้าพุทธศตวรรษ ซึ่งเป็นปีที่เป็นสิริมงคลมาก ทางรัฐบาลให้วัดจัดงานฉลอง เป็นงานอันยิ่งใหญ่ของประเทศ หลวงปู่หยอดจึงถือเอาปีนี้เป็นปีอุดมฤกษ์มงคลอันยิ่งใหญ่ ที่จะกระทำพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลอันได้ทำการพิมพ์ไว้ เรียบร้อยแล้ว จึงเดินทางไปหาพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณ พระราชมงคลวุฒาจารย์ (หลวงปู่ใจ) วัดเสด็จ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งเป็น พระอุปัชฌายาจารย์ ผู้ประสิทธิประสาทวิชาให้กับหลวงปู่หยอด เพื่อปรึกษากำหนดฤกษ์วันพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลที่ทำการพิมพ์ไว้แล้วนั้น เมื่อได้วัน อุดมฤกษ์ตามกำหนดแล้ว จึงเดินทางไปยังสำนักวัดราชนัดดาราม กรุงเทพฯ เพื่อมอบหน้าที่พิธีกร ในด้านศาสนพิธีพุทธาภิเษกในครั้งนี้แก่พระอาจารย์ไสว สุมโน (เดชคุ้ม) เป็นผู้อำนวยการจัดทำธุระในเรื่อง พิธีการพุทธาภิเษกนั้น เพราะพระอาจารย์ไสว สุมโน ท่านเป็นผู้ชำนาญการในด้านนี้อยู่มาก ส่วนหลวงปู่หยอดก็จัดการ นิมนต์พระคณาจารย์ที่มีคุณวุฒิในด้านพระเวทย์ ที่จะนั่งปรกพุทธาภิเษกเป็นที่เรียบร้อย พอได้เวลาบรรดาพระเกจิอาจารย์ก็มาถึงยัง วัดแก้วเจริญพร้อมกัน

             กำหนดทำพิธีพุทธาภิเษก ปลุกเสกพระผง ต้อนรับ 25 พุทธศตวรรษ ณ วัดแก้วเจริญ
             พระผงที่ทำการพุทธาภิเษกคราวนี้ ทางวัดได้ทำขึ้นเมื่อ พ.ศ.2497 ผสมด้วยเกษรว่าน ดินจากสังเวชนียสถาน / ปูชนียสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้นว่าที่ ตั้งบรรจุพระบรมสาริกธาตุ ผงพระหักจากกรุต่างๆ ผงพระสมเด็จ ผงอิทธิเจ ผงตรีนิสิงเห ผงมหาราช ผงใบลานเก่า กับมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ผสม อีกมากมายจะทราบ
ได้จากประวัติการสร้างพระซึ่งจะได้จัดพิมพ์ขึ้นภายหลัง ก่อนที่จะลงมือพิมพ์พระ ได้นำผงไปเข้าพิธีพุทธาภิเษกที่วัดสุทัศน์ จังหวัดพระนคร , วัดพิชัยญาติ จังหวัดธนบุรี และเมื่อจะพิมพ์พระได้ทำพิธีปลุกเสกผงขึ้นที่วัดแก้วเจริญอีกครั้งหนึ่ง โดยมีพระสมณศักดิ์และพระอาจารย์ผู้ทรงวิทยาเวทย์ที่ประชาชนนับถือ เป็นผู้ปลุกเสกผงขึ้นที่วัดแก้วเจริญอีกครั้งหนึ่ง บัดนี้ได้พิมพ์พระเรียบร้อยแล้ว จึงได้ทำพิธีพุทธาภิเษก เพื่อปลุกเสกตามราชประเพณีที่มีมาแต่ครั้งโบราณกาล เช่นสมัยกรุงสุโขทัย สมัยกรุงศรีอยุธยาราชธานี โดยกำหนดตามมงคลฤกษ์ ที่เจ้าพระคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสระเกศ จังหวัดพระนคร เป็นผู้กำหนด
             วันที่ 12 เมษายน 2500 ตรงกับเดือน 5 ขึ้น...ค่ำ เวลา 13.27 น. พระสมณศักดิ์ และพระอาจารย์ในจังหวัด และจังหวัดอื่น ๆ ที่อาราธนามานั่งบริกรรม ปลุกเสกเจริญพระพุทธมนต์
             เวลา 14.27 น. เป็นมงคลฤกษ์ พระสมณศักดิ์ ประธานในพิธีจุดเทียนชัย พระพิธีเริ่มสวดพุทธาภิเษก แล้วอาราธนาพระสมณศักดิ์ และพระอาจารย์ ประมาณ 20 รูป เข้าพิธีนั่งปรก บริกรรมปลุกเสกไปจนตลอดรุ่ง
             วันที่ 13 เมษายน 2500 เวลา 07.00 น. พระสมณศักดิ์และพระอาจารย์ที่นั่งบริกรรมปลุกเสก เจริญพระพุทธมนต์ แล้วถวายภัตตาหาร เสร็จแล้ว พระสมณศักดิ์ผู้เป็นประธานในพิธีตอนเช้า เป็นผู้ประพรมน้ำพระพุทธมนต์พุทธาภิเษกแก่พระผง และผู้ที่ไปร่วมในพิธี แล้วดับเทียนชัยเป็นเสร็จพิธี

             พระคณาจารย์ที่อาราธนามานั่งปรกพุทธาภิเษกครั้งนี้ คือ
             
1. พระเดชพระคุณท่นเจ้าพระคุณพระราชมงคลวุฒาจารย์ (หลวงปู่ใจ) วัดเสด็จ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม
        
     2. หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม จ.นครปฐม
             3. หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม
             4. หลวงพ่อแขก วัดพวงมาลัย จ.สมุทรสงคราม
             5. หลวงพ่อแดง วัดท้ายหาด จ.สมุทรสงคราม
             6. หลวงพ่อสุข วัดราษฎร์บูรณะ จ.สมุทรสงคราม
             7. หลวงพ่ออวง วัดบางวันทอง จ.สมุทรสงคราม
             8. พระครูญาณวิลาส (หลวงพ่อแดง) วัดเขาบันไดอิฐ จ.เพชรบุรี และยังมีพระคณาจารย์วัดอื่นอีก เพราะผู้ให้สัมภาษณ์กับผู้เขียนชักจะลืมไปบ้างแล้ว

             การกระทำพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลพระเครื่อง เพื่อเป็นของแจกเป็นที่ระลึกของหลวงปู่หยอดในครั้งนี้ พระเดชพระคุณท่านเจ้าพระคุณพระราชมงคล วุฒาจารย์ (หลวงปู่ใจ) ท่านเป็นประธานจุดเทียนชัยมงคล แล้วบรรดาพระคณาจารย์ที่อาราธนาที่นั่งปรกพุทธาภิเษกครั้งนี้ เริ่มนั่งตั้งแต่ได้เวลาอุดมฤกษ์ คือ ประมาณทุ่มเศษไปจนถึงเวลาตีห้าของวันรุ่งขึ้น คือนั่งบ้างพักบ้างจนตลอดคืน การทำพิธีในครั้งนี้ ไม่มีพระสงฆ์สี่รูปสวดคาถาพุทธาภิเษกเหมือนปัจจุบันนี้ เมื่อได้เวลา สุดฤกษ์ ใกล้สว่าง หลวงปู่ใจแห่งวัดเสด็จ กระทำการดับเทียนชัยมงคล ส่วนพระคณาจารย์ที่นั่งปรก ทำการประพรมน้ำมนต์ พุทธมนต์กับวัตถุ มงคลร่วมกันทุกรูป เมื่อเสร็จพิธีก็สว่างพอดีของวันใหม่ หลวงปู่หยอดก็นิมนต์พระคณาจารย์ และพระธุรการทั้งหมดฉันภัตตาหารที่หน้าห้องของท่าน เมื่อ พระคณาจารย์ฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว บางรูปก็ลาหลวงปู่ เดินทางกลับสู่วัดของตน เป็นอันพิธีพุทธาภิเษกได้สำเร็จเรียบร้อยด้วยดีในครั้งนี้
             ท่านที่ต้องการพระผงไปบูชาเพื่อเป็นสิริมงคลคุ้มกันตัว ให้มีเมตตามหานิยม และทางลาภ ตามแต่จะปรารถนา หรือว่าท่านต้องการจะนำเอาของไป ร่วมพิธีพุทธาภิเษกคราวนี้ด้วย ขอได้โปรดติดต่อกับกรรมการ ณ วัดแก้วเจริญ ก่อนกำหนดพิธีอย่างน้อย 5 ชั่วโมง
             การทำพระผงคราวนี้ทางวัดมีความประสงค์จะหาเงินเพื่อสร้างศาลาการเปรียญ เป็นพุทธบูชาในปี 2500 อันเป็นปีที่ 25 พุทธศตวรรษ
             พระครูสุนทรธรรมกิจ เจ้าอาวาสวัดแก้วเจริญ และนายเกษม ดำรงค์บุญ นายกสมาคมพร้อมด้วยกรรมการ/สมาชิกของสมาคมสำนักวัดแก้วเจริญ เป็นผู้จัดงาน....

001.พระสมเด็จอกครุฑ

002.สมเด็จพิมพ์ 5 ชั้น อกร่องหูบายศรี

003.สมเด็จฐานแซม เนื้อผงขาว

004.สมเด็จไหล่ตรง เนื้อผงขาวหูบายศรี

005.สมเด็จไหล่ตรง เนื้อผงขาวหูตรง

006.สมเด็จฐานบัว เนื้อผงขาว

007.สมเด็จฐานบัว เนื้อผงขาว 2

008.สมเด็จฐานคู่

009.สมเด็จพิมพ์วัดสุทัศน์ พิมพ์ใหญ่

010.สมเด็จวัดสุทัศน์ พิมพ์กลาง

011.สมเด็จสุทัศน์ พิมพ์กลาง

012.สมเด็จคะแนนปีกล้น

013.สมเด็จคะแนน เนื้อผงยา

014.สมเด็จพิมพ์คะแนน เนื้อขาว

015.สมเด็จสุทัศน์ พิมพ์ใหญ่

016.สมเด็จไหล่ตรง หูบายศรี เนื้อผงยา

017.สมเด็จคะแนน เนื้อผงยา 1

018.สมเด็จคะแนน เนื้อผงยา 2

019.สมเด็จคะแนนอกครุฑ เนื้อผงยา

020.สมเด็จคะแนน เนื้อผงขาว 1

021.สมเด็จคะแนน เนื้อผงขาว 2

022.สมเด็จอกครุฑ เนื้อผงขาว

023.พระซุ้มทวารวดี เนื้อผงยา

024.พระซุ้มทราวดี เนื้อผงยา

025.พระพิมพ์เจ้าสัว (พิมพ์เล็กเนื้อผงยา)

026.พระเนื้อผงยาพิมพ์เจ้าสัว

027.สมเด็จซุ้มลึก เนื้อผงยา

028.พิมพ์บัวคว่ำบัวหงาย เนื้อผงยา 1

029.พิมพ์บัวคว่ำบัวหงาย เนื้อผงยา 2

030.สมเด็จนางพญาเสน่ห์จันทน์

031.พระสมเด็จนางพญาสุทัศน์ เนื้อผงยา

031.สมเด็จนางพญาพิมพ์กลาง (เนื้อผงยา)

032.สมเด็จนางพญานครโกษา พิมพ์ใหญ่

033.สมเด็จนางพญานครโกษา พิมพ์เล็ก (ผงยา)

034.พระซุ้มนครโกษา (หน้า)

035.พระซุ้มนครโกษา (หลัง)

036.พระซุ้มนครโกษา (ใต้)

037.พระซุ้มนครโกษา เนื้อผงยา 1

038.พระซุ้มนครโกษา เนื้อผงยา 2

039.พระซุ้มนครโกษา (พิมพ์บาง)

040.พระซุ้มนครโกษา 2

041.พระซุ้มนครโกษา พิมพ์พิเศษ

042.พระพิมพ์ลพบุรีเนื้อผงยาปิดทอง

043.พระรอดเนื้อดินโป่งข้างเม็ด

044.พระรอดพิมพ์กลาง (เนื้อผงยา)

045.พระรอด เนื้อดินเผา 1

046.พระรอด เนื้อผงขาว

047.พระรอด เนื้อผงยา

048.พระรอด เนื้อดินเผา 2

049.พระรอด เนื้อผงขาว 2

050.พระรอด (พิมพ์เล็ก)

051.พระรอดเนื้อผงยา

052.พระรอด เนื้อดินเผา พิมพ์เล็ก

053.พระรอด เนื้อดินเผา พิมพ์กลาง

054.พระเนื้อผงชินราช เนื้อผงยา

055.พระชินราช เนื้อดินเผา 1

056.พระชินราช เนื้อดินเผา 2

057.สมเด็จหลวงพ่อโต

058.พระสมเด็จเนื้อผงขาว (พิมพ์พิเศษ) 1

059.พระสมเด็จเนื้อผงขาว (พิมพ์พิเศษ) 2

060.สมเด็จพิมพ์ใหญ่ เนื้อผงขาว

061.พิมพ์อกครุฑ หูบายศรี

062.สมเด็จอกร่อง หูบายศรี เนื้อผงหลวงตาอ่วม

063.พระปรกใบมะขาม ซุ้มเขมร 1

064.พระปรกใบมะขาม ซุ้มเขมร 2

065.พระปรกใบมะขาม ซุ้มเขมร 3

 

066.พระโมคคัลลา-สารีบุตร เนื้อดินเผา

067.พระโมคคัลลา-สารีบุตร เนื้อดินเผา 2

 

 

 

 

     

 

 

:: ขอขอบคุณ พี่ดำ วัดแก้วฯ , จ่าติ ทหารช่าง และคณะศิษย์วัดแก้วเจริญ ทุกท่าน...ที่เอื้อเฟื้อข้อมูล ::

 
      ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่เว็บไซต์ " วัดแก้วเจริญ " และขอเชิญมากราบสรีระหลวงปู่หยอด ชินวํโส อดีตเจ้าอาวาสวัดแก้วเจริญ เกจิแห่งลุ่มน้ำแม่กลองอันโด่งดัง ผู้สร้างไหมห้าสีเบญจรงค์อันเลื่องชื่อ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง และครอบครัวครับ.....