หน้าแรก... ประวัติวัดแก้วเจริญ... กิจกรรมภายในวัด... ติดต่อเรา...


 
ประวัติความของเป็นมาวัดแก้วเจริญ
 
ประวัติหลวงปู่หยอด  ชินวํโส
 
หนังสือชีวิตและผลงานหลวงปู่หยอดฯ
 
เปิดบันทึกตำนาน " หลวงปู่หยอดฯ "
 
คติธรรม / คำสอน
 
ประวัติเจ้าอาวาส (พระครูสมุห์คำนวณฯ)  
 
ทัศนียภาพภายในวัด  
 
ภาพถ่ายวัดแก้วเจริญ สมัยเก่า
 
กิจกรรม / แจ้งข่าวของทางวัด 
 
ติดต่อเราและแผนที่ / Facebook
 
 

 
วัตถุมงคลเนื้อผงรุ่นแรก ปี 2497 
 
ภาพวัตถุมงคลของหลวงปู่หยอดฯ
 
วัตถุมงคลของ พระครูสมุห์คำนวณฯ
 พระผงปิดตาโภคทรัพย์รุ่นแรก  
 ล็อกเก็ตพระครูสมุห์คำนวณฯ  
 พระนาคปรกผงมหาระงับ พุทธาภินิหาร
 พระสมเด็จปรกโพธิ์รุ่นแรก เศรษฐีดวงดี
 พระขุนแผนรุ่นแรก " เจริญลาภ "
 เหรียญรูปเหมือน รุ่น 1
    Rian Roop Meuan 1st batch
    Luang Phor Kham Nuan
 สีผึ้งมหามงคล " ฤกษ์จันทร์ซ้อนจันทร์ "
 ตะกรุดต่างๆ พระครูสมุห์คำนวณฯ
   - ตะกรุดมหาปราบพอกผงมหาระงับ
   - ตะกรุดพระพุทธเจ้าอมโลก
   - ตะกรุดโสฬสมหามงคล
   - ตะกรุดคู่ชีวิต / ตะกรุดมหารูด
   - ตะกรุดมหาระงับ 8 ทิศใหญ่
   - ตะกรุดลูกอมพิสมรมหาระงับ (ใบลาน)
 รวมวัตถุมงคลอื่นๆ  


 
 ภูมิปัญญาชาวบ้าน " หมอรักษาโรคฯ "
 
 คลองเสด็จประพาสต้น
 
 วัตถุโบราณเพื่อชนรุ่นหลังได้ศึกษา
 
 แหล่งเรียนรู้พิพิธภัณฑ์เรือโบราณ
 
 Link แนะนำ ...
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 


           พระนิรันตราย พระพุทธรูปเก่าแก่ที่มีการค้นพบในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้นำมาทูลเกล้าฯ ถวาย ในราวปี พ.ศ. 2399 นับเป็นพระพุทธรูปองค์สำคัญประจำรัชกาล องค์หนึ่ง โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญประดิษฐานในพระแท่นมณฑลในพระราชพิธีต่างๆ อาทิ พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์ (ทำบุญตรุษ), พระราชพิธีสงกรานต์ ฯลฯ


พระนิรันตราย (องค์ใน) พระพุทธรูปโบราณหล่อด้วยทองคำนั่งขัดสมาธิเพชร หน้าตักกว้าง 3 นิ้ว สูง 4 นิ้ว
กำนันอิน และบุตรชายขุดพบเมื่อปีมะโรง พ.ศ. 2399 ใกล้ดงศรีมหาโพธิ์ ปราจีนบุรี

           ปัจจุบันเจ้าพนักงานภูษามาลายังรักษาแบบแผนโบราณราชประเพณี โดยอัญเชิญ “ พระนิรันตราย” ไปประดิษฐานในพระราชพิธีสำคัญๆ เช่น ในการบำเพ็ญพระราชกุศลวันเฉลิมพระชนมพรรษา และ การพระราชกุศลที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัด ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ เป็นต้น
            ตามประวัติการค้นพบกล่าวไว้ว่า ใน ครั้งนั้นเมื่อปีรัตนโกสินทร์ศกที่ 74 หรือ พ.ศ.2399 กำนันอิน ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่เมืองปราจิณบุรี ฝันว่าจับช้างเผือกได้ หลังจากนั้นไม่นาน ท่านกับบุตรชายชื่อ นายยัง ได้เดินทางเข้าป่าเพื่อขุดมันนกในบริเวณชายป่า ห่างจากดงศรีมหาโพธิประมาณ 3 เส้น ก็ได้พบพระพุทธรูปสมัยทวารวดี หล่อด้วยทองคำเนื้อหก มีน้ำหนักถึง 8 ตำลึง จึงนำไปมอบให้พระเกรียงไกร กระบวนยุทธ์ ปลัดเมืองฉะเชิงเทรา พระเกรียงไกรได้พากำนันอิน และนายยังเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายพระพุทธรูปทองคำ
           พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดสองคนพ่อลูกนี้ว่า มีกตัญญูต่อพระพุทธศาสนาและพระเจ้าแผ่นดิน เมื่อขุดได้พระทองคำเช่นนี้แล้ว แทนที่จะยุบหลอมนำทองคำไปจับจ่ายใช้สอยเป็นประโยชน์ตน กลับมีน้ำใจนำมาทูลเกล้าฯ ถวาย จึงทรงพระราชทานรางวัลเป็นเงินตราเจ็ดชั่ง ( 560 บาท)


พระนิรันตราย (องค์ครอบ) หล่อด้วยทองคำ ไม่มีซุ้มเรือนแก้ว สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 
สำหรับสวมครอบพระนิรันตรายโบราณไว้อีกชั้นหนึ่งเรียกชื่อรวมกันทั้งองค์ในและองค์ครอบว่า " พระนิรันตราย "


           คำว่า “ นิรันตราย” อันหมายถึง ปราศจากอันตรายนิรันดร์ นั้น ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 พระราชทานพระนาม สืบเนื่องจากในปี พ.ศ.2403 พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ได้สร้างปาฏิหาริย์เป็นที่ปรากฏ เมื่อมีคนร้ายลักลอบเข้าหอเสถียรธรรมปริตร ลักเอาพระกริ่งทองคำองค์น้อยไป แต่กลับไม่เอาพระพุทธรูปทองคำที่ประดิษฐานอยู่คู่กันไปด้วย ทั้งที่องค์พระมีขนาดเขื่องกว่า พระองค์ทรงมีพระราชดำริว่า … พระพุทธรูปซึ่งกำนันอินทูลเกล้าฯ ถวายนั้น เป็นทองคำทั้งแท่งและใหญ่กว่าพระกริ่ง ควรที่คนร้ายจะลักองค์ใหญ่ไปแต่กลับละไว้ เช่นเดียวกับผู้ที่ขุดได้ไม่ทำอันตราย เป็นเรื่องมหัศจรรย์ที่แคล้วคลาดถึง 2 ครั้ง จึงทรงพระราชดำริให้เจ้าพนักงานทำการหล่อพระพุทธรูปนั่ง ปางสมาธิเพชร เนื้อทองคำ ขนาดหน้าตักกว้าง 5 นิ้วครึ่ง เพื่อสวมพระพุทธรูปองค์ใน ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิเพชร ศิลปะสมัยทวารวดี ไว้อีกชั้นหนึ่ง พระราชทานพระนามว่า “ พระนิรันตราย” และยังโปรดฯ ให้หล่อพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่งเป็นเนื้อเงินบริสุทธิ์ไว้คู่กัน


      
ปัจจุบัน พระนิรันตรายทองคำ และพระนิรันตรายเงิน ประดิษฐาน ณ หอพระสุราลัยพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง

           เมื่อพระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตมีพระอารามมากขึ้น ในปี พ.ศ.2411 พระองค์จึงทรงโปรดฯ ให้หล่อพระพุทธรูปพิมพ์เดียวกัน เป็น เนื้อทองเหลืองกะไหล่ทอง โดยมีเรือนแก้วเป็นพุ่มพระมหาโพธิ์ มีอักขระขอมแสดงพระพุทธคุณจำหลักลงในวงกลีบบัว เบื้องหน้า 9 เบื้องหลัง 9 ยอดเรือนแก้วเป็นรูปพระมหามงกุฎ ตั้งติดอยู่กับฐานชั้นล่าง รองฐานพระซึ่งเป็นที่สำหรับรับน้ำสรงพระ จำนวน 18 องค์ เท่ากับจำนวนปีที่เสด็จอยู่ในสิริราชสมบัติ พระราชทานนามว่า “ พระนิรันตราย” เช่นกัน เพื่อจะทรงพระราชทานเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญประจำพระอารามต่างๆ แต่ยังไม่ทันกะไหล่ทอง พระองค์ก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน


พระนิรันตราย หล่อด้วยทองเหลืองกะไหล่ทอง มีซุ้มเรือนแก้ว สร้างขึ้นรวม 18 องค์
เพื่อพระราชทานไว้ ณ พระอาราม คณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย 

            ต่อมาพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 5) จึงโปรดฯ ให้นายช่างทำกะไหล่ทองคำทั้ง 18 องค์ให้แล้วเสร็จ และพระราชทานไปตามวัดคณะธรรมยุตจำนวน 18 วัด ตามพระราชประสงค์ของพระบรมราชชนก ประกอบด้วย วัดราชาธิวาส, วัดบวรนิเวศวิหาร, วัดเทพศิรินทราวาส, วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม, วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม, วัดบรมนิวาส, วัดมกุฏกษัตริยาราม, วัดโสมนัสวิหาร, วัดบุรณศิริมาตยาราม, วัดราชผาติการาม, วัดปทุมวนาราม, วัดสัมพันธวงศ์, วัดเครือวัลย์, วัดบุปผาราม, วัดเขมาภิรตาราม จ.นนทบุรี, วัดยุคันธราวาส จ.นนทบุรี, วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ จ.พระนครศรีอยุธยา และ วัดเสนาสนาราม จ.พระนครศรีอยุธยา หลังจากนั้น ทรงสร้างพระราชทานเพิ่มอีกวัดละ 1 องค์ ในเวลาต่อมา
           “ พระนิรันตราย” นับเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ได้รับความเคารพอย่างกว้างขวาง และได้มีการจัดสร้างเป็นวัตถุมงคล ทั้ง พระบูชา พระเครื่อง พระพิมพ์ และเหรียญเพื่อความสะดวกแก่การพกพาติดตัวให้เกิดความสิริมงคลสืบมา...

 

 

-----------------------------------------------------------------------------

 

 

 

:: ขอขอบคุณ ทีมงาน " ปิดทองหลังพระ " และคณะศิษย์วัดแก้วเจริญ ทุกท่าน...ที่เอื้อเฟื้อข้อมูล ::

 
      ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่เว็บไซต์ " วัดแก้วเจริญ " และขอเชิญมากราบสรีระหลวงปู่หยอด ชินวํโส อดีตเจ้าอาวาสวัดแก้วเจริญ เกจิแห่งลุ่มน้ำแม่กลองอันโด่งดัง ผู้สร้างไหมห้าสีเบญจรงค์อันเลื่องชื่อ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง และครอบครัวครับ.....